วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)


Super User.(ม...)  ได้กล่าวถึง วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) ว่า
หลักการ
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถความถนัด หรือความสนใจเป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย
ตัวชี้วัด
                1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงานนั่นคือส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
                2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบวินัยรู้จักทำหน้าที่
                3. เพื่อฝึกทักษะในการแก้ปัญหาการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยปฏิบัติงานทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มและมีประสบการณ์ตรงในการทำงาน
                4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถ
ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
                1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่มขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
                2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่บอกรายละเอียดของหนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
                4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงานในกรณีที่เป็นครูให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการปฏิบัติงานในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงานผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ข้อดีของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
             1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
            2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถและความสนใจของตนเอง
ข้อสังเกตของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
                1. ถ้าครูเพิ่งเริ่มใช้วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเป็นครั้งแรกครูควรดูแลนักเรียนใกล้ชิดเช่น ต้องดูแลให้นักเรียนทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายนักเรียนผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่มต้องทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาชิกในกลุ่มและนอกกลุ่มรวมทั้งประสานงานกับครู
                2. หน้าที่การเป็นหัวหน้ากลุ่ม ควรหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันเพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
                3. การปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่ง


ตัวอย่างแผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                       รายวิชา คณิตศาสตร์ 6 (รหัสวิชา ค 33101)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6                                                                                ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล          จำนวน 3 ชั่วโมง
ครูผู้สอนว่าที่ร้อยตรีชัยเมธี  ใจคุ้มเก่า                                                         ตำแหน่ง ครู                  
 

1.สาระการเรียนรู้ที่นำมาบูรณาการ
คณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้
 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
   ตัวชี้วัด
ม. 4-6/2  หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปอร์เซ็นต์    ไทล์ของข้อมูล       
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐานการเรียนรู้
            มาตรฐาน ง 3.1 เข้าเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม
   ตัวชี้วัด
ม. 4-6/11 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน 
สาระสำคัญ
ปัจจุบันมีการนำความรู้ในวิชาสถิติไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่างๆ เป็นอันมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิชาสถิติให้เข้าใจถ่องแท้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางต่อไป
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            1.ด้านความรู้ (knowledge) นักเรียนสามารถ
                        1.1 สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
                        1.2 สามารถนำข้อมูลที่รวบรวมไว้ไปนำเสนอในรูปแบบต่างๆได้
                        1.3 สามารถอ่านและตีความหมายของข้อมูลที่ผู้อื่นนำเสนอไว้ในรูปข้อความกึ่งตารางและวาดรูปตารางได้
2.ด้านทักษะกระบวนการ (process) นักเรียนมีความสามารถ
            2.1 ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้
            2.2 ในการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผลในการคิดค้นหาคำตอบได้
            2.3 ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
3.ด้านคุณธรรม จริยธรรม (attitude) นักเรียน
3.1 มีความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
3.2 มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
3.3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3.4 มีน้ำใจช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่ม
3.5 ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. สาระการเรียนรู้
4.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ
4.2 การนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
5.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
            1. ความสมารถในการสื่อสาร
            2.ความสมารถในการคิด
3.ความสมารถในการแก้ปัญหา
4.ความสมารถในการใช้ทักษะชีวิต
5.ความสมารถในการเทคโนโลยี
6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ตระหนักถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหา
2. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
5. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7.การบูรณาการกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็น
ความพอประมาน
ความมีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
การจัดกิจกรรม
1.ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้พอดีกับจำนวนนักเรียน
2.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.จัดนักเรียนคละความสามารถเก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อให้นักเรียนแบ่งกลุ่มได้เหมาะสมและสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
2.เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ
1.เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงศักยภาพของตนเองเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
2.เพื่อตรวจสอบศักยภาพนักเรียนเป็นรายบุคคลสามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความสามารถ
เงื่อนไขความรู้
1.ครูผู้สอน มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน เรื่องสถิติเบื้องต้น
2.มีความรู้ เรื่องการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เงื่อนไขคุณธรรม
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม

8. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ผู้สอนพูดคุยพร้อมทั้งซักถามผู้เรียนเกี่ยวกับการนำสถิติไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆเช่น ด้านอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา และด้านการบริหารเป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเก็บข้อมูลโดยใช้การถามตอบ แล้วให้นักเรียนไปค้นคว้า ความหมายของสถิติประเภทของสถิต เมื่อนักเรียนทราบถึงกระบวนการทางสถิติซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 4 ขั้นตอนได้แก่เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นการนำเสนอ ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นแปลความหมายของข้อมูล
3. ให้นักเรียนจับกลุ่ม
4. ผู้สอนแนะนำกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มจะทำร่วมกัน “กิจกรรมการสร้างแบบสอบถามในเรื่องที่แต่ละกลุ่มสนใจ”
5. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาค้นคว้าการสร้างแบบสอบถาม
6. ครูแนะนำขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ และแหล่งข้อมูลเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
7. นักเรียนลงมือสร้างแบบสอบถามออนไลน์ผู้ช่วยสร้างครูช่วยตรวจสอบความถูกต้อง
8. นักเรียนนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปเก็บข้อมูลจริง
9. นักเรียนนำเสนอผลงานโดยครูและนักเรียนประเมินผลการทำงานร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองจากการปฏิบัติงาน และการพูดคุยเพื่อพัฒนางานในโอกาสต่อไป
9.ภาระงาน/ชิ้นงาน
            แบบสอบถามออนไลน์
10. การวัดผลประเมินผล
สิ่งที่วัด
วิธีการวัด
เครื่องมือที่วัด
เกณฑ์การผ่าน
1.ด้านความรู้
การทดสอบ
แบบสอบถามที่นักเรียนสร้างขึ้นมา
เนื้อหาครอบคลุมสามารถเก็บข้อมูลออนไลน์ได้ อยู่ในระดับดี
2.ด้านกระบวนการ
การสังเกต
แบบสอบถามที่นักเรียนสร้างขึ้นมา
เนื้อหายังไม่ครอบคลุมสามารถเก็บข้อมูลออนไลน์ได้ อยู่ในระดับพอใช้
3.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
การสังเกต
แบบสอบถามที่นักเรียนสร้างขึ้นมา
เนื้อหายังไม่ครอบคลุมสามารถเก็บข้อมูลออนไลน์ได้ อยู่ในระดับปรับปรุง

11.กิจกรรมเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
12. สื่อการเรียนรู้
12.1 ห้องอินเทอร์เน็ต
12.2 สมาร์ทโฟน
13.บันทึกผลหลังการสอน
            1. ผลการสอน
                   ด้านความรู้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                 ด้านทักษะ/กระบวนการ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
            2.สภาพปัญหา/อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
            3.ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………ครูผู้สอน
(ว่าที่ร้อยตรีชัยเมธี  ใจคุ้มเก่า) 
                                                                                                                         ตำแหน่ง ครู




ที่มา
Super User. (ม...). http://innovation.kpru.ac.th/ . [ออนไลน์].  เข้าถึงวันที่ 14 สิงหาคม พ.. 2561.
Chaimate. (ม...). https://www.slideshare.net/chaimate/1959-1. [ออนไลน์].  เข้าถึงวันที่ 14 สิงหาคม พ.. 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ( Cognitivism)

สื่อและวัตกรรมการเรียนการสอน