บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

         รูปแบบการจัดการเรียนการสอน มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ . ( 2559 ) . ได้กล่าวถึงรูปแบบการสอน 1.การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method) 2.วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา 3.วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) 4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) 6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method) 7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method) 8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา 9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล 10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์   และการนำเสนอ 11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)  12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process) 13. วิธีสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method) 14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) 15. วิธีสอนแบบอภิปราย ( Discussion Method) 16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน 17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน ( Committee Work Method) 18. วิธีสอนแบบหน่วย ( Unit Teaching Method) 19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท ( Role Playing Method) 20.

ทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

ทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง ( Mental Discipline) ทิศนา แขมมณี . ( 2550). ได้กล่าวถึงทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง ( Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา ( mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า ( Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน ( St. Augustine) จอห์น คาลวิน ( John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ ( Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง ( bad-active) 2. มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม 3. สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ( faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ ( Natural Unfoldment) ทิศนา แขมมณี . ( 2550 ). ได้กล่าวถึงทฤษฎี ของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ ( Rousseau) ฟรอเบล ( Froebel) และเพสตาลอสซี ( Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง ( good - active) 2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ 3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก 4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย 5.เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้